วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้
       นำเสนอบทความและโทรทัศน์ครู...ของคนที่ยังไม่ได้นำเสนอให้ครบทุกคนตามเลขที่
ตัวอย่างเช่น

วิจัย  เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
     1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ หลงั การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
    2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินการวิจัย
 ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. แบบแผนการทดลองและวิธีการดำเนินการทดลอง
 4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

สรุปผลการวิจัย
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม การเรียนรู้ประกอบชดุ แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับ ดีมากและจําแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก
 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็นและอยู่ในระดับดี
 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของ Sukhonthip Homyen

โทรทัศน์ครู เรื่องสอนเด็อย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
    ครูควรสร้างบรรยากาศให้หน้าตื่นเต้นไม่น่าเบื่อ โดยการทดลองมาดูงดูดมากขึ้น และครูควรสังเกตว่าเด็กสนใจ อยากรู้อยากเห็น มากแค่ไหนกับการทดลองนั้น ต้องเลือกสอนสิ่งที่ใกล้ตัวมากกว่าไกลตัว
- สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบล็อกของ pichapa supaka

จากนั้นอาจารย์ให้ทำแผ่นพับ "สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน" เป็นกลุ่มตามหน่วยของเราโดยในแผ่นพับจะต้องมีหัวข้อดังนี้
  - หน้าแรกก็วาดสัญญาลักษณ์โรงเรียนและเขียนชื่องน้องและครูประจำชั้นออกแบบตามใจเรา
  - สิ่งที่ต้องการให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ เช่น อุปกรณ์ทำกิจกรรม
  - สาระหน้ารู้เกี่ยวกับหน่วย
  - กิจกรรมที่จะจัดและแบบฝึกหัดที่ให้ผู้ปกครองสอนน้อง.
  - เพลงหรือคำคล้องจ้อง
  - ชื่อผู้จัดทำ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   - การนำวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำมาเสนอให้เราฟังสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการสอนของเราก็ได้และเป้นแนวทางให้เราสามารถไปใช้กับเด็ก
   - การทำแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนถือว่าเป็นผลดี เราสามารถนำไปใช้กับผู้ปกครองเด็กเพื่อเป็นความร่วมมือระหว่างบ้านกับดรงเรียนและทำให้ผู้ปกครองได้ทราบด้วยว่าอาทิตย์หน้าลูกท่านเรียนอะไร
ประเมินตนเอง
     งานทุกงานมีประโยชน์ทั้งนั้นอยู่ที่เราจะเลือกใช้และคิดในสิ่งนั้นว่ามีประโยชน์แค่ไหน ถ้าต่อให้มันมีประโยชน์มากมายแต่เราเลือกใช้และคิดไม่เป็นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับก่อนหินที่ทุกคนมองข้าม
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัยและบทความทำให้ทุกคนมีความรู้เพิ่มเติมและได้คำแนะนำจากอาจารย์กันหลายอย่างรวมถึงการทำงานเป้นกลุ่มด้วยทุกคนช่วยกันทำแบ่งหน้าที่
ประเมินอาจารย์ 
     อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ในตอนสอนเพื่อเป็นสารถึงผู้ปกครองได้รับทราบถึงการเรียนในอาทิตย์ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 25 พฤษจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้ 
    เริ่มต้นมาอาจารย์ ถามถึงแผนการจัดประสบการณ์ ว่านักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหนเป็น
รายบุคคลและอาจารย์ก็แนะนำให้ทุกคนฟังในสิ่งที่ตนสงสัยในเรื่องแผน
    ส่งสื่อและนำเสนอสื่อบอกว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ทำไม เพราะอะไร จากนั้นก็นำไปจัดหมวดหมู่แยกประเภทของสื่อเพื่อจะนำไปสอนเด็กได้
1.หมวดพลังงาน

2.หมวดอากาศ

3.หมวดน้ำ


4.หมวดเสียง

5.หมวดจุดสมดุล

อาจารย์ให้นักศึกษาทำ"หวานเย็น'' 
อุปกรณ์
1.น้ำหวาน                                                    7.ถุงแกง
2.น้ำเปล่า                                                     8.ยางวง
3.เกลือ                                                         9.หม้อ
4.น้ำแข็ง                                                      10.ช้อน
5.กระบวย                                                    11.กะละมัง  
6.กรวย 
                                              
วิธีการทำ
1.นำน้าหวานมาผสมกับน้ำให้พอสมควรลงในกะละมัง
2.ตักน้ำหวานที่ผสมแล้วใส่ถุงและมัดยางให้แน่น
3.นำถุงหวานเย็นไปใส่ในหม้อและเอาน้ำแข็งกับเกลือใส่ลงไปในหม้อเดียวกัน
4.หมุนหม้อไปมาประมาน 10 นาที่ ก็นำหวานเย็นออกมา
5.ลองชิมดู

ข้อควรระวังในการทำกิจกรรม
   ไม่ควรใส่น้ำหวานมากเพราะถ้าเต็มทุกไปเมื่อเรานำไปใส่ในหม้อและหมุนไปหมุนมาก็กระทบกันแตก
และไม่ควรมัดยางจนให้ถุงพ่องดตนั้นก็อาจทำให้ถุงแตกได้เช่นกัน

 สาเหตุที่ทำให้หวานเย็นแข็งเพราะเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งกับเกลือทำปฏิกิริยากันจึงทำให้น้ำแข็งเกาะตัว เมื่อเราเอาน้ำแข็งใส่ลงไปในเกลือ เกลือที่ต้องการละลายตัว ไม่สามารถจะหาความร้อนที่ไหนมาช่วยละลายได้ จึงดึงความร้อนจากน้ำแข็ง ซึ่งปนอยู่ลงไปนั่นเอง น้ำแข็งซึ่งเย็นอยู่แล้วจึงยิ่งเย็นลงไปอีก และเย็นลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลเช่นนี้หวานเย็นจึงกลายเป็นน้ำแข็ง

เทคนิคการสอน
 - อาจารย์บอกกับพวกเราเสมอ "คนเราจะเก่ง เก่งได้ทุกเวลา ไม่ต้องรอให้ผมสองสีก่อน"
 - อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องแผนที่ในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ
 - อาจารย์นำกิจกรรมมาทำในห้องเรียนเพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อสำหรับการเรียน

ประเมินตนเอง
     วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจเรียนและมีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทำ ในวันนี้ก็ได้บอกถึงปัญหาที่ไม่เข้าใจเรื่องแผนการจัดประสบการณ์
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์จะปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้เสมอ ยามผิดก็บ่น ยามถึงเวลาสอนอาจารย์ก็สนุกกับนักศึกษาไม่ทำให้การเรียนดูตึงเครียด
โทรทัศน์ครู   เรื่องจุดประกายนักวิทยาสาสตร์น้อย
  ของอาจารย์เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม  ในระดับชั้นประถมศึกษา
  
เด็กวัยประถมเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น สังเกตจากการทำกิจกรรมในห้องเรียน หลักการของคุณครูในการสอนวิทยาศาสตร์ "สอนให้สนุก ไม่ไกลตัว เน้นการทดลอง ความรู้ก็จะเกิดเอง เด็กได้ลงมือกระทำจะจดจำไม่รู้ลืม "
การสอนเรื่องเสียง การกำเนิดเสียง
      - คุณครูเริ่มต้นโดยการเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถพิเศษทางดนตรี
      - ครูดึงดูดความสนใจของเด็กโดยการนำแก้วกำเนิดเสียงมาเขย่าให้เด็กทายว่าเสียงเกิดจากอะไร
      - เอาถุงขยะมามัดใส่กะละมังให้ตึง แล้วนำเกลือโรยบนถุงและให้เด็กๆลองพูดดังๆ จะเห็นเม็ดเกลือสั่นตามจังหวะของเสียง เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ
      - กะป๋องร้องได้  นำกระป๋องผลไม้มาเปิดผาออกทั้ง 2ด้าน และใช้สว่านเจาะรูห่างจากขอบประมาน 1 นิ้ว และก็ตัด ปากขวดน้ำให้สวมลงในกระป๋องได้ จากนั้นก็เอาดินน้ำมันอุดตรงขอบขวดด้านใน และนำลูกโป่งมาคลุมปากกระป๋องและลองเปาดูเราจะได้ยินเสียงออกมา
       การเกิดเสียงเพราะว่าเวลาเราเป่าลมเข้าไปในรูของกระป๋อง ลมจะไปกระทบกับดินน้ำมันและส่งต่อมาอีกฝั่งกระทบกับลูกโป่งจึงทำให้เกิดเสียง เสียงจะแตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของกระป๋อง

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อม
    ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ผู้วิจัย               ศุภวารี  ศรีนวล
มหาวิทยาลัย      มหาวิยาลัยมหาสารคาม  ปีที่พิมพ์ 2547

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   - ทักษะการสังเกต ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่การมองเห้น การได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรส ไปสัมผัสโดยตรงกับวัสดุหรือเหตุการณ์
  - ทักษะการจำแนก ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่ไม่อยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งกลุ่ม
  - ทักษะแสดงปริมาณ ความสามารถในการวัด การนับ การเปรียบเทียบด้วยเครื่องมือต่างๆ
  - ทักษะการสื่อความหมาย ความสามารถจากการนำข้อมูลที่ได้จากการวัด การสังเกตการทดลองมาจัดให้มีความสัมพันธ์กับมากขึ้นจนง่ายต่อการแปลความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ
  - ทักษะการลงความเห็น ความสามารถในการสรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูลการสังเกตหรือการทดลองได้อย่างถูกต้อง
  - ทักษะการหามิติสัมพันธ์ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ
2. ความพร้อม หมายถึง พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเป็นไปตามพัฒนาการในแต่ล่ะช่วงวัยของเด็ก สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างดีและไม่มีอุปสรรคในการเรียนรู้ มีความพร้อมที่เรียนรู้สิ่งต่างๆใหม่ที่เข้ามาในตัวเด็ก
3.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม 3 ระยะ
     ระยะที่ 1 วางแผนโครงการ
     ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการเป็นระยะที่เด็กค้นหา
     ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
4.เด็กอนุบาล หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนบ้านพนมไพร ตำบลพนมไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 จังหวัดร้อยเอ็ด
5. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ หมายถึง แผนการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
6. แบบทดสอบย่อยระหว่างโครงการ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากสิ้นสุดแต่ล่ะโครงการ
7. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปของคะแนนที่นักเรียนทำได้หลังเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
8.แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตพัฒนาการเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล2 ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสังเกตพัฒนาการของเด็กโดยสังเกตทั้งก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์
9.ดัชนีประสิทธิภาพ หมายถึง ค่าที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการเทียบคะแนนที่เปลี่ยนแปลงจากการทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นอนุบาลปีที่2
                             
                                ผลรวมคะแนนประเมินหลังการเรียน  - ผลรวมคะแนนประเมินก่อนเรียน
      ดัชนีประสิทธิผล =  (จำนวนนักเรียน * คะแนนเต็ม )   - ผลรวมคะแนนประเมินก่อนเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย
     1.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนเรียน
     2.ดำเนินการทดสอบระหว่างเรียนและสังเกตพัฒนาการในทุกช่วงของโครงการโดยเน้นที่กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
     3.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการหลังเรียน
     4.นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์ทางสถิติ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
    1.ครูสร้างและสังเกตความสนใจของเด็ก
    2.กระตุ้นความสนใจในการกำหนดหัวเรื่อง
    3.เด็กนำเสนอหัวเรื่องที่สนใจ
    4.เด็กร่วมกันคัดเลือกและกำหนดหัวเรื่องที่สนใจ
    5.เด็กเสนอประสบการณ์เดิม
    6.กำหนดประเด็นที่ศึกษา
    7.แจ้งข่าวถึงผู้ปกครอง
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
    1.สรุปประเด็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จะศึกษา
    2.เลือกประเด็นที่ศึกษา
    3.ตั้งสมมติฐาน
    4.วางแผนการศึกษาตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
    5.สรุปความรู้ที่ศึกษา
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
    - สรุปความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษา
    - การนำเสนอผลงาน/จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    - ประเมินผล/อภิปรายผลการทำโครงการ
    - วางแผนเข้าสู่โครงการใหม่
สรุปผลการวิจัย
     การสงเสริมความพร้อมและพัฒนาการของเด็กจะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วขึ้นและการที่จะให้เด็กในระดับชั้นอนุบาลสามารถที่จะเรียนรู้ในทักษะต่างๆที่สูงขึ้นก็ควรจะส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการสำหรับเด็กในระดับชั้นอนุบาล2 ที่นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กบนพื้นฐานการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 19 พฤษจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.



กิจกรรมวันนี้
       อาจารย์พูดถึงวิธีการที่จะสรุปวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ในสิ่งที่อาจารย์อยากทราบเกี่ยวกับวิจัยที่นักศึกษาไปหามา โดยมีหัวข้อที่อาจรย์กำหนดให้ดังนี้
  1. บอกถึงจุดประสงค์ของงานวิจัยว่าเขาต้องการแก้ไขหรือพัฒนาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาวิจัย โดยยกมาจากคำนิยามของวิจัยว่ามีอะไรบ้าง
  2. วิธีดำเนินการวิจัย
  3.ผลของการวิจัย
     ส่วนโทรทัศน์ครูถ้าหาได้ไม่ครบทุกคนก็หาจากคลิปอื่นๆที่สอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยถึงชั้นประถมตอนต้นก็ได้ และสรุปมาให้ได้ใจความ คือ
  1. ส่งเสริมและแก้ไขอะไร
  2. ด้วยวิธีใด
  3. มีขั้นตอนอย่างไรในการสอน

    จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม เพื่อจะทำขนมวาฟเฟิล( cooking  waffle ) ก่อนอื่นอาจารย์ก็อธิบายวิธีการทำให้นักศึกษาฟังก่อนลงมือปฏิบัติเอง

อุปกรณ์ Equipment
1. ถ้วยใหญ่สำหรับผสมแป้ง กลุ่มล่ะ 1 ใบ
2. ถ้วยเล็ก คนล่ะ 1 ใบ Cup
3. ที่ตีแป้ง
4. แปรงเช็ดเตา
5. เครื่องทำวาฟเฟิล
6. แก้ว Glass
7. ช้อน Spoon
8. กระบวย
9. จาน Plate

ส่วนประกอบ Composition
1. แป้งสำเร็จรูป
2. นมสด Milk
3. เนยหวาน/เค็ม Butter
4. ไข่ไก่ Egg
5. น้ำ Water


วิธีการทำ How to
1. ใส่นมและน้ำลงในถ้วยแป้งในปริมาณที่เหมาะสมและตีแป้งให้เข้ากัน
2. พอแป้งเข้าที่แล้ว ตอกไข่ใส่ลงไป และตามด้วยเนยหวาน ตีให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วยเล็กของแต่ล่ะคน
4. ใช้แปรงแตะเนยเค็มและไปเช็ดกับเตาทำวาฟเฟิล 
5. พอเตาร้อนได้ที่ก็เทวาฟเฟิลที่ผสมไว้ลงในบล็อกขนมและปิดเตารอจนกว่าไฟจะเปลี่ยนสี
6. พอไฟเปลี่ยนสีแล้วก็นำออกใส่จานให้เรียบร้อย และก็ให้ทุกคนได้ชิม



ต่อไปก็อ่านโทรทัศน์ครู
 เรื่อง  ของเล่นและของใช้  โดย Nittaya Yaikong

นำเสนอแผน
หน่วยดิน Soil
ขั้นนำ      สอนเด็กๆร้องเพลงดินและใช้คำถาม " .ในเพลงมีดินอะไรบางค่ะ และดินที่เด็กๆมีดิน                    อะไรบ้างนะช่วยบอกคุรครูหน่อยสิค่ะ"
ขั้นสอน   ให้เด็กๆจำแนกประเภทของดิน ดินเหนียว ดินทราย ดินร่วน 
                นับจำนวนของดินว่ามีกี่ถ้วย และจับคู่
ขั้นสรุป   ทบทวนความรู้ที่เรียนมา

หน่วยสับปะรด Pineapple
ขั้นนำ      เพื่อนไม่เข้าใจในขั้นนำ
ขั้นสอน   บอกถึงโทษและประโยชน์ของสับประรด

เทคนิคการสอน
1. อาจารย์จัดหาการทำขนมวาฟเฟิลมาให้นักศึกษาทำเพื่อนำไปใช้ได้ในหน่วยการสอน
2. อาจารย์ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติเอง
3. อาจารย์ให้ขอเสนอแนะในส่วนที่นักศึกษายังไม่เข้าใจเรื่องแผนการสอน

การนำไปประยุกต์ใช้
      การทำวาฟเฟิลสามารถนำไปใช้ได้ในแผนการสอนของวันสุดท้ายการประกอบอาหาร cooking เพราะเด็กอนุบาลก็ทำได้อยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ และสะดวกต่อการทำหาวัสดุอุปกรณ์ง่าย
ประเมินตนเอง
      มีความสุขกับการเรียนอาจารย์นำการทำขนมวาฟเฟิลมาให้พวกเราถือว่าเป้นการผ่อนคล้ายการเรียน ทั้งสนุกและได้ความรู้
ประเมินเพื่อน
      การทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งปันเอื้อเฝื้อเพื่อแผ่ซึ้งกันและกัน สามัคคีกันในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนๆทุกคนในห้องจะช่วยเหลือกันเสมอในการทำงาน
ประเมินอาจารย์
      อาจารย์จะคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับนักศึกาาตลอดในส่วนที่นักศึกาาสงสัยและไม่เข้าใจ และจะคอยนำสิ่งที่ดีๆมาสอนนักศึกษา อาจารย์จะคอยบอกถึคงวิธีการทำงานต่างๆที่มอบหมายให้นักศึกษาเพื่อให้งานนั้นออกมาดี

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
กิจกรรมวันนี้
     อาจารย์ให้หาวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาพูดอาทิตย์ถัดไปสำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านบทความ ส่วนวันนี้ให้นำเสนอแผนกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอเมื่ออาทิตย์ที่แล้วออกมานำเสนอ
หน่วยสับปะรด Pimeapple (การประกอบอาหาร)
       เพื่อนๆสอนการประกอบอาหารโดยทำน้ำสับปะรดแต่ใช้น้ำเปล่าธรรมดาหันสับปะรดใส่ น้ำแข็งใส่ น้ำตาล เป้นการทำที่ผิดเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้ ต้องแก้ไขวิธีทำใหม่ให้ถูกต้อง


หน่วยส้ม Orange (ชนิดของส้ม)
       เริ่มต้นมาร้องเพลงส้ม และสอนให้เด็กๆนับจำนวนของส้มบอกถึงชนิดของส้ม



หน่วยทุเรียน Durian (ลักษณะของทุเรียน)



หน่วยมด Ant (ลักษณะของมด)



หน่วยดิน Soil (ชนิดของดิน)

หน่วยน้ำWater (การทดลองสถานะของน้ำ)
          1.ที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
          2.น้ำเปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว 
          3.ของแข็งละเหยเป็นไอน้ำ

หน่วยไข่ Egg(ทาโกยากิไข่)



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การปรับปรุงแผนต่อยอดจากอันเดิมแทรกความรู้ที่อาจารย์ให้เข้าไปในแผนของกลุ่มเราสามารถนำไปใช้ได้จริงแค่ปรับปรุงที่อาจารย์แนะนำไปใช้ การทำกิจกรรมต่างๆควรให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยจะ
เป็นผลดีมากเด็กได้สัมผัสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
      เรียนรู้หลายๆอย่างจากการนำเสนอแผนของเพื่อนๆทำให้เราคิดอะไรได้หลายอย่างเราสามารถคิดออกไปได้มากมายเหมือนที่อาจารย์บอกอยู่ที่ตัวเราต้องคิดให้เป็นและทำความเข้าใจกับงานนั้นๆ การทำงานครั้งแรกก็มีผิดบางถือเป็นบทเรียนเพื่อไปปรับปรุงตัวเราใหม่
ประเมินเพื่อน
      การทำงานเป็นทีมเราต้องสามัคคีกันจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผลงานที่ออกมาก็จสำเร็จลุล่วงด้วยดีการทำงานย่อมมีผิดถูกเสมอไป ไม่ว่ากลุ่มไหน ถ้าเพื่อนในกลุ่มไม่สามัคคีกันงานนั้นจะออกมาเช่นไรมีบางกลุ่มที่มีข้อผิดพลาดเยอะเกิดจากการที่ในกลุ่มไม่คุยกันก่อนนั้นเอง
ประเมินอาจารย์
      อาจารย์ต้องการให้เราทำให้เป็นคิดให้ถูกหลักการและมีประโยชน์มากที่สุด อาจารย์จะพูดซ้ำๆเสมอแต่นักศึกษาก็เข้าใจยากอยู่ดีแต่อาจารย์ก็ไม่เคยล่ะความพยายามในการสอนบอกตั้งแต่ต้นคาบจนท้ายคาบเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา
ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระดับ: อนุบาล หมวด: เกี่ยวกับอนุบาล 

การสอนลูกเรื่องแสงและเงาสำคัญอย่างไร?
แสงสว่างและเงาเป็นเรื่องที่เด็กเห็นว่าเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นความจริงว่ามีอยู่จึงเป็นเรื่องที่ควรสอนให้รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร การเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยเพราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเด็กเรียนวิทยาศาสตร์เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่สำคัญตวามวัยคือ
    - การพัฒนาทางกาย ที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาตินั้น
    - การพัฒนาการทางสติปัญญา เด็กได้สำรวจตรวจสอบทดลองเกี่ยวกับแสงและเงาได้คิดเห็นเหตุที่ทำให้เกิดเงา ให้เด็กๆได้ทดลองเชิดตัวหุ่นเงาส่องแสงจากไฟฉายให้มากระทบตัวหุ่น เงาไปปรากฏที่จุด เด็กจะำด้พบคำตอบว่าเงามีความสัมพันธ์กับแสงและวัตถุทึบแสง
    - การพัฒนาการด้านสังคม ก็จะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันคือ เด็กเรียนรู้ที่จะฝึกฝนการทำกฏระเบรยบการทำงานอย่างมีขั้นตอน เป็นการปลูกฝังคุณลักษณะการทำงานที่มีวินัยให้แก่เด็กตลอดจนเด็กมีดอกาสที่ช่วยเหลือตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็น
    - การพัฒนาการทางจิตใจ เป็นการตอบสนองความต้องการของเด็กกระทำสิ่งต่างๆด้สยตนเองให้รู้จักตัดสินใจ รู้จักตนเอง รู้จักอดทนจะต้องมีการผ่อนปรนให้ผู้อื่นการควบคุมจิตใจของตนเองจะค่อยๆ
พัฒนาขึ้น
การสอนลูกเรื่องแสงและเงามีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
     การเรียนรู้เรื่องแสงและเงาก่อประโยชน์แก่เด็กปฐมวัยที่อยู่ในวัยของการเรียนรู้ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนทักษะทางสังคมของการอยู่ร่วมกันและใช้ธรรมชาติร่วมกัน การปลูกจิตสำนึกของการรักาาะรรมชาติ และรู้จักระวังสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดโทษทั้งต่อตนเองและธรรมชาติเช่นกัน

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 4 พฤษจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น

กิจกรรมวันนี้ 
    อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนของแต่ล่ะหน่วยที่เตรียมอุปกรณ์มาส่วนกลุ่มที่ไม่ได้เตรียมมาก็กลับไปแก้แผนใหม่ให้สมบูรณ์ โดยใช้แผนที่อาจารย์ให้ดูเป็นตัวอย่าง
หน่วยไข่
   

หน่วยกบ

หน่วยกล้วย
หน่วยข้าว

   การนำเสนอแผนในวันนี้ทุกกลุ่มยังมีข้อผิดผลาดอยู่เพราะเป็นครั้งแรกที่ทำเลยยังดูไม่สมบูรณ์แต่อาจารย์ก็ให้คำแนะนำทุกกลุ่มเพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสำหรับการนำไปใช้
เทคนิคการสอน
  -  ใช้คำถามกับนักศึกษาเพื่อกระตุ้นการเรียนและให้ได้คิดตาม
  -  ให้คำแนะนำที่ควรจะเป็นในการทำแผน
  -  ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำเองเพื่อจะเป็นชี้แนะได้ถูกทาง
การนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้
     จากการได้ไอเดียจากอาจารย์เกี่ยวกับการทำแผนการสอนที่ต้องประกอบอาหารเราสามารถนำมาบูรณาการให้ใช้ได้ในแผนของเราถ้าเกี่ยวกับอาหารไม่จำเป็นต้องเป็นต้องเป็นสิ่งที่เด็กเคยเห็นอย่างเช่น ไข่ สามารถนำไปทำเป้นเทอริยากิไข่ก็ได้
ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆทุกคนมีความรับผิดชอบเตรียมอุปกรณ์มาทำอาหารถึงแม้จะไม่ราบรื่นแต่ก็ทำจนจบได้ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์จะคอยให้คำแนะนำเรื่องแผนเสมอเมื่อนักศึกษาทำมาไม่ถูกแม้ในขณะที่ออกไปนำเสนออาจารย์ก็จะบอกให้นักศึกษาเข้าใจว่าสิ่งที่ทำมาเป็นอย่างไร และควรทำอย่างไรถึงจะเหมาะสม