วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อม
    ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ผู้วิจัย               ศุภวารี  ศรีนวล
มหาวิทยาลัย      มหาวิยาลัยมหาสารคาม  ปีที่พิมพ์ 2547

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   - ทักษะการสังเกต ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่การมองเห้น การได้ยิน การดมกลิ่น การชิมรส ไปสัมผัสโดยตรงกับวัสดุหรือเหตุการณ์
  - ทักษะการจำแนก ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่ไม่อยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งกลุ่ม
  - ทักษะแสดงปริมาณ ความสามารถในการวัด การนับ การเปรียบเทียบด้วยเครื่องมือต่างๆ
  - ทักษะการสื่อความหมาย ความสามารถจากการนำข้อมูลที่ได้จากการวัด การสังเกตการทดลองมาจัดให้มีความสัมพันธ์กับมากขึ้นจนง่ายต่อการแปลความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ
  - ทักษะการลงความเห็น ความสามารถในการสรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูลการสังเกตหรือการทดลองได้อย่างถูกต้อง
  - ทักษะการหามิติสัมพันธ์ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ
2. ความพร้อม หมายถึง พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเป็นไปตามพัฒนาการในแต่ล่ะช่วงวัยของเด็ก สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างดีและไม่มีอุปสรรคในการเรียนรู้ มีความพร้อมที่เรียนรู้สิ่งต่างๆใหม่ที่เข้ามาในตัวเด็ก
3.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม 3 ระยะ
     ระยะที่ 1 วางแผนโครงการ
     ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการเป็นระยะที่เด็กค้นหา
     ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
4.เด็กอนุบาล หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนบ้านพนมไพร ตำบลพนมไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 จังหวัดร้อยเอ็ด
5. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ หมายถึง แผนการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
6. แบบทดสอบย่อยระหว่างโครงการ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากสิ้นสุดแต่ล่ะโครงการ
7. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปของคะแนนที่นักเรียนทำได้หลังเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
8.แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตพัฒนาการเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล2 ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสังเกตพัฒนาการของเด็กโดยสังเกตทั้งก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์
9.ดัชนีประสิทธิภาพ หมายถึง ค่าที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการเทียบคะแนนที่เปลี่ยนแปลงจากการทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นอนุบาลปีที่2
                             
                                ผลรวมคะแนนประเมินหลังการเรียน  - ผลรวมคะแนนประเมินก่อนเรียน
      ดัชนีประสิทธิผล =  (จำนวนนักเรียน * คะแนนเต็ม )   - ผลรวมคะแนนประเมินก่อนเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย
     1.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนเรียน
     2.ดำเนินการทดสอบระหว่างเรียนและสังเกตพัฒนาการในทุกช่วงของโครงการโดยเน้นที่กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
     3.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการหลังเรียน
     4.นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์ทางสถิติ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
    1.ครูสร้างและสังเกตความสนใจของเด็ก
    2.กระตุ้นความสนใจในการกำหนดหัวเรื่อง
    3.เด็กนำเสนอหัวเรื่องที่สนใจ
    4.เด็กร่วมกันคัดเลือกและกำหนดหัวเรื่องที่สนใจ
    5.เด็กเสนอประสบการณ์เดิม
    6.กำหนดประเด็นที่ศึกษา
    7.แจ้งข่าวถึงผู้ปกครอง
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
    1.สรุปประเด็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จะศึกษา
    2.เลือกประเด็นที่ศึกษา
    3.ตั้งสมมติฐาน
    4.วางแผนการศึกษาตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
    5.สรุปความรู้ที่ศึกษา
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
    - สรุปความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษา
    - การนำเสนอผลงาน/จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    - ประเมินผล/อภิปรายผลการทำโครงการ
    - วางแผนเข้าสู่โครงการใหม่
สรุปผลการวิจัย
     การสงเสริมความพร้อมและพัฒนาการของเด็กจะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วขึ้นและการที่จะให้เด็กในระดับชั้นอนุบาลสามารถที่จะเรียนรู้ในทักษะต่างๆที่สูงขึ้นก็ควรจะส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการสำหรับเด็กในระดับชั้นอนุบาล2 ที่นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กบนพื้นฐานการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น