วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

วิธีการสอน
- การใชัคำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนรวมแบบระดมความคิด
- การนำเสนอบทความของเพื่อนพูดวัตถุประสงค์ใช้ในแบบวิเคราะห์การคิดพื้นฐาน
บทความวันนี้
  1.สนุกคิดกับของเล่นเด็กปฐมวัย  
ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน Darawan Glomjai
  2.วิทย์คณิตสำหรับเด็กสำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
การศึกษาปฐมวัย คือ การวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิด และการเรียนรู้ตลอดชีวิต สสวท. ได้มีการสร้างกรอบมาตรฐาน และคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยนำเสนอตัวอย่างการบูรณาการกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และยังได้มีการจัดอบรมครู และวิทยากรแกนนำ เพื่อนำไปขยายผล ทั้งนี้ มีโรงเรียนทั่วประเทศจำนวนกว่าหนึ่งหมื่นแห่งและครูปฐมวัย jirawan Jannongwa
 3.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทยาศาตร์ จากเสียงดนตรีเพื่อบูรณาการวิทยาศาสตร์
เมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล พ่อ-แม่ คาดหวังอะไร พ่อ-แม่ หลายคนอาจต้องกลับไปถามตัวเองใหม่ ปัจจุบันการเรียนรู้ระดับปฐมวัยสิ่งที่สำคัญคือ การสร้าง เจตคติที่ดี ในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ Umaporn Porkkati
 4.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  Patintida chlamboon
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผนมีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    1.การเปลี่ยนแปลง
    2.ความแตกต่าง
    3.การปรับตัว
    4.การพึ่งพาอาศัย
    5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
    1.ขั้นกำหนดปัญหา
    2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
    3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
    4.ขั้นลงมือข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์(Scientific Attitude) 
เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
  1. กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
  2. การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
  1. กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
  2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
  3. การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า
คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
     1. มีเหตุผล
     2. มีความอยากรู้อยากเห็น
     3. มีใจกว้าง
     4. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
     5. มีความเพียรพยายาม
     6. มีความละเอียดรอบคอบ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product) ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process) ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่า เป็นความรู้ ทาง วิทยาศาสตร์ จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่า ถูกต้องจากการ ทดสอบหลายๆ ครั้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท
   1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่สังเกตได้โดยตรง และจะต้องมีความเป็นจริง สามารถ ทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง
   2. ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง มาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่
   3. ความจริงหลักหรือหลักการ คือ กลุ่มของความคิด รวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถ นำมาทดลองซ้ำ ได้ผลเหมือนเดิม
   4. กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่ง แต่เป็นข้อความที่เน้นความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุผล มักแทนความสัมพันธ์ ในรูปสมการ
   5. สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่จะ ดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เป็นจริงในเรื่อง นั้นๆ

   6. ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ 
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองความต้องการ
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้างประสบการณ์
- ฯลฯ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ
 เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต

การนำไปประยุกต์ใช้
    การรู้ถึงความหมายของวิทยาศาสตร์ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้และการศึกษาต่อไปในอนาคตให้เกิดประโยชน์อย่างสูงยิ่ง
ประเมินตนเอง
    เข้าใจถึงความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่ที่เราจะเลือกอะไรมาประยุกต์ใช้ในการให้ได้อย่างเหมาะสม
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจเรียนและมีควาามสุขกับการเรียนในรายวิชานี้เพราะอาจารย์จะภามอยูเสมอ
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ต้องการให้พวกเรามีส่วนรวมกับการเรียนจึงใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของพวกเราและก่อนจะหมดคาบอาจารย์จะสรุปเนื้อหาให้เราได้เข้าใจ



1 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้ตรวคำผิดถูกก่อนโพสนะคะ การLink ของเพื่อนควรLinkเนื้อหาที่เพื่อนเอามานำเสนอและควรมีการสรุปข้อมูลของบทความที่เพื่อนนำเสนอบ้างนะคะ
    ศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ รีบปรับปรุงด่วน
    การสรุปมีความรู้ การประยุกต์ใช้แล้วยังมีอะไรอีกคะ
    ควรมีข้อมูลของบทความที่เพื่อนนำเสนอบ้างนะคะ
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษถ้าหาได้มากกว่านี้ก็จะยิ่งดีขึ้นนะคะ

    ตอบลบ