วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วิธีการสอน
- การใช้คำถามปลายเปิด
- การตั้งเหตุการณ์สมมติเพื่อให้เราคิดและง่ายต่อการเข้าใจ
- การมีเหตุผล
*อาจารย์ถามว่า Canstructivism คืออะไร???
   คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเป็นทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ผู้เรียนจะปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับ และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะ ต้อง พิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ


  กิจกรรมในวันนี้
 อุปกรณ์( Equipment )
1.กระดาษ (Paper)
2.ไม้ลูกชิ้น 1อัน
3.กรรไกร (Scissore)
4.เทปกาว (Glue tape)
5.สี (Color)

 วิธีการทำ (How to)
1. ตัดกระดาษเป็นสีเหลี่ยมพื้นผ้าและผับครึ่ง
2. วาดรูปที่สัมพันธ์กันสองข้าง
3. นำไม้ลูกชิ้นมาแป๊ะเทปกาวตรงกึ่งกลางภาพด้านในของกระดาษให้อยู่และ
แป๊ะตรงด้านที่ออกห่างกันให้สนิท
4. แล้วเราก็ลองหมุนไม้ลูกชิ้นดู(เราก็จะเห็นภาพที่ซ้อนกันอยู่)

บทความวันนี้
1.สอนลูกเรื่องพืช  
     พืชเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กพ่อแม่มีบทบาทสำคัญสำหรับเรื่องนี้เพราะ พ่อแม่สามารถบอกเด็กๆได้เวลาอยู่ที่บ้าน ทานอาหาร ปลูกต้นไม้ กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับพืช พ่อแม่ควรให้เด็กๆมีส่วนรวมในกิจกรรมนั้นเสมอเพื่อปลูกฝั่งเรื่องพืชให้กับเด็กๆ Miss Wiranda Khayanngan
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
     การเรียนวิทยาสาสตร์เด็กสามารถจินตนาการได้จากนิทาน เพราะเป็นสื่อที่เด็กชอบ นิทานจะมีเรื่องราวทำให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้มากกว่าการบอกจากคุรครู Miss Aroonjit Hanhow
3.แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล  
    วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ Miss Natthida Rattanachai
4. การทดลองสนุกๆสำหรับคุณหนูๆ
     การพาลูกไปยังสถานที่ที่สามารถช่วยในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถ เปิดโลกทัศน์ให้กับลูกได้เช่นกัน และยังสามารถทำกิจกรรมทดลองต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้ที่บ้าน การพาลูกไปเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกสถานที่ยังช่วยให้เด็กมีความสนใจและ ตื่นเต้นกับประสบการณ์ของสิ่งที่เหนือธรรมชาติซึ่งสามารถมีคำอธิบายให้พวก เขาได้เข้าใจถึงเหตุและผลได้  Miss Arnitimon Semma 
งานกลุ่มเลือกหัวข้อแล้วแยกส่วนประกอบ  "น้ำ"
 1.ชนิดของน้ำ
 2.ลัษณะของน้ำ
 3.คุณสมบัติของน้ำ
 4.ประโยชน์
 5.ข้อควรระวัง



ประโยชน์ที่ได้รับ

   - การประดิษฐ์สื่อแบบง่ายๆแต่ได้ประโยชน์หลายอย่างและเด็กสามารถทำได้ด้วย และการแยกส่วนประกอบของหัวข้อที่เราศึกษามารวมทั้งที่เพื่อนๆหามาด้วย
การนำมาประยุกต์ใช้
   - สามารถนำงานกลุ่มที่เพื่อนๆศึกษามาไปใช้ในตอนฝึกสอนได้ตามหน่วยที่แยกออกมาแล้ว ส่วนการทำสื่อก็นำไปลองเล่นกับเด็กได้ในสถานการณ์จริง
ประเมินตนเอง
   - กระตือรื้อร้นในการเรียนมากขึ้นเพราะมีกิจกรรมให้ทำเวลาเรียนด้วยช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในบางเวลาได้
ประเมินอาจารย์
    - อาจารย์นำสื่อมาให้เราประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มการเรียนจากทฤษฏีมาเป็นการลงมือกระทำจริงให้เห็นภาพมากขึ้นและง่ายต่อการจดจำ

 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
*" เฟรอเบล”  บิดาการศึกษาปฐมวัย 
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น บิดาการศึกษาปฐมวัย ด้วย การพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรีว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุด ของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
     เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้อง ดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย
* " เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด"(clean slate)
จอห์น ล็อค (John Lock ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากทฤษฎีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยา ศาสตร์ การศึกษาจิตใจ และการเรียนรู้ จอห์น ล็อค มีความเชื่อว่า เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate) เด็กจะเติบโตเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ สังคม การศึกษา และโลกรอบตัว จอห์น ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปในยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก จอห์น ล็อคเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการพยายามทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล กล่าวโดยสรุป บทบาทที่สำคัญของจอห์น ล็อคด้านการศึกษาคือ การจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก การอธิบายเหตุผลแก่เด็กในการเรียนรู้และบทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาเด็ก

2 ความคิดเห็น: