วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


เทคนิคการสอน
- อาจารย์ให้ประดิษฐ์สื่อที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- อาจารย์ใช้คำถามอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา

กิจกรรมที่ 1 ลูกยาง

 อุปกรณ์( Equipment)
1.กระดาษ(้Paper)
2.คลิปหนีบกระดาษ ( Paperclip)
3.กรรไกร (Scissors)

วิธีการทำ (How to)
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วพับครึ่ง
2. ใช้กรรไกรตัดกึ่งกลางตามลอยพับครึ่งแผ่นโดยสามารถเลือกด้านใดด้านหนึ่งก็ได้
3. พับส่วนปลายด้านที่ไม่ได้ตัด พับขึ้นไป 1 เซนติเมตร
4. นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ตรงที่พับขึ้นไป แล้วกลางกระดาษที่ตัดออกไปคนล่ะด้าน
    จากนั้นก็ลองเล่นดู

วิธีการเล่น ( How to play )
  ให้แต่ล่ะคนโยน ขว้าง หรือปา ก็ได้แต่ต้องลงมาจากที่สูง

   สาเหตุที่ลูกยางตกจากที่สูง จะสังเกตุเห็นว่ามันจะหมุนมาเรื่อยๆๆจนถึงพื้น เพราะมันเกิดแรงโน้มถ่วง และแรงต้านทาน ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับเครื่องบิน ร่มชูชีพ เป็นต้น แล้วจึงนำมาประดิษฐ์เป็นสื่อเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็ก ให้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัยที่เหมาะสม
     
กิจกรรมที่ 2


อุปกรณ์( Equipment)
1. แกนกระดาษทิชชู (Tissue cores)
2. กระดาษ(้Paper) 
3. ไหมพรม ( Yarn ) 
4. กาว (Glue) 
5. กรรไกร(Scissors)

วิธีการทำ (How to) 
1. ตัดแกนกระดาษทิชชูแบ่งครึ่งกับเพื่อน
2. เจาะรู 2 รู คู่ขนานกันที่แกนกระดาษทิชชู
3. ตัดกระดาษเป็นวงกลมให้ดูเหมาะสมกับแกนกระดาษทิชชู
4. วาดรูปภาพที่เราต้องการลงในกระดาษวงกลมให้สวยงาม
5. นำกระดาษที่ตบแต่งเรียบร้อยแล้วแป๊ะใส่แกนกระดาษทิชชูห้ามปิดรูที่เจาะไว้
6. นำไหมพรมมาร้อยใส่รูแล้วมัดให้เรียบร้อย จากนั้นก็ทดลองเล่น

วิธีการเล่น ( How to play ) 
      นำเชือกไหมพรมมาคองคอเลือกด้านใดด้านนึ่งและใช้มือสองข้างจับด้านที่เหลือไว้ และดึงไปดึงมาให้แกนกระดาษทิชชูเคลื่อนที่ไปมาตามความต้องการของเรา


บทความวันนี้ (Article today )

1. สะกิดลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ 
      ธรรมชาติของเด็ก จะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นไม่หยุดนิ่ง เมื่อใดที่เผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะรู้ เขาจะพยายามค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งจะสังเกตุได้จากที่เด็กจะใช้คำถามแปลกๆที่ตัวเองอยากรู้มาถาม จนเราตอบไม่ทัน หรือตอบได้ทุกคำถาม การคิดแบบวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบในสิ่งที่เด็กสงสัยได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
 Miss Jiraporn Noulchom
2. สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา”ตามเด็กปฐมวัย..เรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด 
       จุดเด่นของกิจกรรมนี้คือใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท.ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมผลที่เกิดกับเด็กคือเด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆด้าน ได้รับประสบการณ์ตรงส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขชื่นชมผลงานของผู้อื่นมีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ดได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนรอคอยแบ่งปันมีน้าใจต่อกัน Miss anna chawsuan
3. เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 
     คือการฝึกให้เด็กหัดสังเกตุในสิ่งเขากำลังสนใจอยู่ สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน และควรบอกวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กสำหรับผู้ปกครองและปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์มีความสนุกสนานและน่าสนใจ เพราะจะทำให้เด็กรู้จักการสังเกตุและการมีเหตุผลด้วย
 Miss Chanida Bunnako
4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ? 
       เราได้ทดลองแล้ว พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ ปฐมวัยได้แน่นอน ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน  เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม  แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย Miss suangkamol sutawee 
5.  ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
      พ่อแม่ต้องจำเป็นกระตุ้นพัฒนาการของลูกเพื่อช่วยให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้ อย่างเต็มศักยภาพของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมองของเด็กแรกเกิดที่เป็นเด็กปกติทุกคนเกิดมาพร้อมด้วย ความสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมเซลล์สมองที่พร้อมจะเรียนรู้ก็อาจสูญเสียไป ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Miss Natchalita suwanmanee

ประโยชน์ที่ได้รับ
 - การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆและหาได้ทั่วไป แต่มีประโยชน์และคุณค่าในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 
 - กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีหลากหลายรูปแบบในการเรียนรู้อยู่ที่คนรอบข้างพ่อแม่ที่จะช่วยใหห้เด็กเรียนรู้ได้อย่างถูกวิธีและมีเหตุผล
การนำมาประยุกต์ใช้
 - การคิดประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์จากสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ไม่จำเป็นต้องซื่อแต่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ประดิษฐ์ให้เป็นของเล่นชิ้นใหม่ได้
ประเมินตนเอง
 - วันนี้ไปสายเลยไม่ได้เข้าเรียน อาจดูไม่มีความรับผิดชอบแต่เราก็พยายามศึกษาข้อมูลจากบล็อกของเพื่อนและทำงานครบตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์
 - อาจารย์สอนประดิษฐ์สื่อที่มีเนื้อหาและประโยชน์เชื่อมโยงกับบทเรียน และใช้คำถามเสมอเพื่อให้เราเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆและสนใจกับการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น