วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
สื่อวิทยาศาสตร์  "เรือใบไม่ล้ม"

อุปกรณ์(Equipment)
1.ขวดน้ำดื่ม 2 ขวด  (ฺBotle)                        2.ก้านลูกโป่ง
3.กรรไกร (Scissors)                                   4.ขวดนมบีทาเก้น(ขวดเล็ก)
5.กาว (Glue)                                               6.เชือก(Rope)
7.ฐานลูกโป่ง                                                 8.ทราย(Sand)
วิธีการทำ(How to)
1.ตัดหัวและก้นของขวดออก 1 ใบ และคลี่ออกเป็นแนวยาว จากนั้นก็นำก้านลูกโป่งมาติดกาวใส่ขวดพลาสติกที่ตัดไว้ตรงกลาง และตัดเป็นสามหเหลี่ยมให้มีลักษณะคล้ายกับใบเรือ
2.นำฐานลูกโปร่งมาติดกาวกับขวดที่ไม่ได้ตัดโดยนำขวดนอนลงและติดด้านบนส่วนท้ายจากนั้นก็นำใบเรือที่ทำไว้มาเสียบที่รูฐานลูกโป่ง
3.นำทรายใส่ขวดบีทาเก้นและใช้เทปกาวปิดฝาให้แน่น
4.นำขวดทรายที่เตรียมไว้ไปติดใต้ขวดที่ใช้เป็นเรือและใช้เชือกพันให้แน่นและตบแต่งให้สวยงาม
*การตบแต่งไม่ควรใช้กระดาษหรือตบแต่งภายนอกเพราะโดนน้ำก็ละลายออก
วิธีการเล่น(how to play)
    นำเรือไปลอยในถังที่มีน้ำ
สาเหตุที่เรือใบไม่ล้ม
  -   เราจะเห็นได้ว่าถ้ายังไม่มีที่ถ่วง(ขวดทราย)เราจะเห็นได้ว่าเรือใบจะเอนไปเอนมาตามแรงลมของอากาศและน้ำหนักของใบเรือว่าข้างไหนหนักกว่า
 -   แต่เมื่อเราใส่ตัวถ่วง(ขวดทราย)ก็จะเพิ่มน้ำหนักให้เรือหรือจุดศูนย์ถ่วงของเรือเพื่อให้บรรล้านกับฐานเมื่อเราลองนำไปเล่นก็จะเห็นได้ว่าเรือใบไม่ล้มตามชื่อเพราะน้ำหนักของเรือได้อยู่ที่ขวดทรายจึงทำให้เป็นจุดศูนย์กลางของเรือ  หลักนี้ก็จะมีลักษณะคล้ายกับแรงโน้มถ่วงของโลก  แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำกับมวลใดๆ จะขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างศูนย์กลางมวลของ โลกกับศูนย์กลางมวลวัตถุยกกำลังสอง ดังนั้นแรงโน้มถ่วงของโลกบริเวณต่างๆ จึงมีค่าไม่เท่ากัน และเนื่องจากโลกมีการหมุนรอบตัวเองมีผลทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลาง แรงหนีศูนย์กลางนี้จะหักล้างกับแรงโน้มถ่วงของโลก แรงหนีศูนย์กลางจะมีค่ามากที่สุดบริเวณเสันศูนย์กลางและมีค่าน้อยที่สุดบริเวณขั้วโลก ผลของแรงหนีศูนย์กลางนี้ทำให้แรงโน้มถ่วงของโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่า น้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลกบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนั้น โลกก็มิได้เป็นทรงกลมโดยสมบูรณ์ แต่แป้นตรงกลางเล็กน้อยคล้ายผลส้ม ทำให้ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของโลกถึงพื้นผิวโลกแปรผันไปตามละติจุด


ผลงานของเพื่อนๆ

         
                  

            




    เทคนิคการสอน
1.สอนให้พวกเราคิดอย่างมีเหตุผลและถ่ายทอดออกมาเชิงวิทยาสาสตร์
2.อาจารย์จะช่วยเสริมเกี่ยวกับสื่อที่เราเตรียมมาให้สมบูรณ์
3.ใช้คำถามเชิงวิเคาระห์กับนักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
     การบอกถึงประโยชน์ของสื่อก่อนที่เราจะเอาไปทำให้เด็กดูเราต้องรู้ว่าเพราะอะไร? สื่อถึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เราต้องมีคำตอบเพื่อจะได้สอนเด็กได้ สื่อบางอย่างอาจดูไม่มีอะไรแต่ความหมายของสื่อนั้นอาจมีประโยชนืมากก็ได้เราต้องหาเหตุผลให้ได้
ประเมินตนเอง
      สื่อที่เราเตรียมมาอาจยังหาข้อมุลไม่เพียงพอเราต้องกลับไปศึกษาใหม่เกี่ยวกับสื่อของเราเองเพื่อให้มีประสิทะิภาพมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆที่ออกไปนำเสนอคนแรกๆอาจจะยังไม่เข้าใจถึงหลักวิชาการแต่คนหลังๆสามารถบอกแบบเป้นหลักการได้ดี
ประเมินอาจารย์
      อาจารย์จะช่วยชี้แนะเกี่ยวกับสื่อที่เราเตรียมมาให้พัฒนาดีกว่านี้ บอกถึงแนวการเขียนแผนการสอนที่แต่ล่ะกลุ่มได้รับมอบหมาย และการทำงานที่เราควรพึ่งปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น