วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วิธีการสอน
- การใช้คำถามปลายเปิด
- การตั้งเหตุการณ์สมมติเพื่อให้เราคิดและง่ายต่อการเข้าใจ
- การมีเหตุผล
*อาจารย์ถามว่า Canstructivism คืออะไร???
   คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเป็นทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ผู้เรียนจะปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับ และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะ ต้อง พิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ


  กิจกรรมในวันนี้
 อุปกรณ์( Equipment )
1.กระดาษ (Paper)
2.ไม้ลูกชิ้น 1อัน
3.กรรไกร (Scissore)
4.เทปกาว (Glue tape)
5.สี (Color)

 วิธีการทำ (How to)
1. ตัดกระดาษเป็นสีเหลี่ยมพื้นผ้าและผับครึ่ง
2. วาดรูปที่สัมพันธ์กันสองข้าง
3. นำไม้ลูกชิ้นมาแป๊ะเทปกาวตรงกึ่งกลางภาพด้านในของกระดาษให้อยู่และ
แป๊ะตรงด้านที่ออกห่างกันให้สนิท
4. แล้วเราก็ลองหมุนไม้ลูกชิ้นดู(เราก็จะเห็นภาพที่ซ้อนกันอยู่)

บทความวันนี้
1.สอนลูกเรื่องพืช  
     พืชเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กพ่อแม่มีบทบาทสำคัญสำหรับเรื่องนี้เพราะ พ่อแม่สามารถบอกเด็กๆได้เวลาอยู่ที่บ้าน ทานอาหาร ปลูกต้นไม้ กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับพืช พ่อแม่ควรให้เด็กๆมีส่วนรวมในกิจกรรมนั้นเสมอเพื่อปลูกฝั่งเรื่องพืชให้กับเด็กๆ Miss Wiranda Khayanngan
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
     การเรียนวิทยาสาสตร์เด็กสามารถจินตนาการได้จากนิทาน เพราะเป็นสื่อที่เด็กชอบ นิทานจะมีเรื่องราวทำให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้มากกว่าการบอกจากคุรครู Miss Aroonjit Hanhow
3.แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล  
    วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ Miss Natthida Rattanachai
4. การทดลองสนุกๆสำหรับคุณหนูๆ
     การพาลูกไปยังสถานที่ที่สามารถช่วยในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถ เปิดโลกทัศน์ให้กับลูกได้เช่นกัน และยังสามารถทำกิจกรรมทดลองต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้ที่บ้าน การพาลูกไปเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกสถานที่ยังช่วยให้เด็กมีความสนใจและ ตื่นเต้นกับประสบการณ์ของสิ่งที่เหนือธรรมชาติซึ่งสามารถมีคำอธิบายให้พวก เขาได้เข้าใจถึงเหตุและผลได้  Miss Arnitimon Semma 
งานกลุ่มเลือกหัวข้อแล้วแยกส่วนประกอบ  "น้ำ"
 1.ชนิดของน้ำ
 2.ลัษณะของน้ำ
 3.คุณสมบัติของน้ำ
 4.ประโยชน์
 5.ข้อควรระวัง



ประโยชน์ที่ได้รับ

   - การประดิษฐ์สื่อแบบง่ายๆแต่ได้ประโยชน์หลายอย่างและเด็กสามารถทำได้ด้วย และการแยกส่วนประกอบของหัวข้อที่เราศึกษามารวมทั้งที่เพื่อนๆหามาด้วย
การนำมาประยุกต์ใช้
   - สามารถนำงานกลุ่มที่เพื่อนๆศึกษามาไปใช้ในตอนฝึกสอนได้ตามหน่วยที่แยกออกมาแล้ว ส่วนการทำสื่อก็นำไปลองเล่นกับเด็กได้ในสถานการณ์จริง
ประเมินตนเอง
   - กระตือรื้อร้นในการเรียนมากขึ้นเพราะมีกิจกรรมให้ทำเวลาเรียนด้วยช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในบางเวลาได้
ประเมินอาจารย์
    - อาจารย์นำสื่อมาให้เราประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มการเรียนจากทฤษฏีมาเป็นการลงมือกระทำจริงให้เห็นภาพมากขึ้นและง่ายต่อการจดจำ

 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
*" เฟรอเบล”  บิดาการศึกษาปฐมวัย 
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น บิดาการศึกษาปฐมวัย ด้วย การพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรีว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุด ของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
     เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้อง ดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย
* " เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด"(clean slate)
จอห์น ล็อค (John Lock ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากทฤษฎีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยา ศาสตร์ การศึกษาจิตใจ และการเรียนรู้ จอห์น ล็อค มีความเชื่อว่า เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด (clean slate) เด็กจะเติบโตเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ สังคม การศึกษา และโลกรอบตัว จอห์น ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปในยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก จอห์น ล็อคเชื่อว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการพยายามทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล กล่าวโดยสรุป บทบาทที่สำคัญของจอห์น ล็อคด้านการศึกษาคือ การจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก การอธิบายเหตุผลแก่เด็กในการเรียนรู้และบทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาเด็ก

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
       เริ่มเข้าสู่บทเรียนอาจารย์เปิดScience Songs(เพลงวิทยาศาสตร์)และจากนั้นให้เพื่อนอ่านบทความ
บทความวันนี้
1.การสอนปรากฏการณ์ธรรมชาติ  จากเหตุการณ์จริงที่เด็กต้องพบเจอ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้ได้เด็กได้รู้จักการอนุรักษณ์ธรรมชาติมีการตั้งสมมติฐานการข้อมูล การลองผิดลองถูก  Preeyanuch Chontep
2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความ เข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามี พัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น Piyada Pongpan

ความลับของแสง
- ถ้ารอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างเราก็จะมองอะไรไม่เห็น แสงสว่างจึงเป็นสิ่งสำคัญกับเรา
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกลับคลื่นนำ้ในทะเลแต่จะเป็นคลื่นที่มีความยาวสั้นมาก นอกจากนี้แสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วมา 300,000 กิโลเมตร/วินาที เปรียบเท่ากับการวิ่งรอบโลก 7 รอบ
 ในเวลา 1 วินาที
*การทดลอง หากล่องใบใหญ่ที่มีฦาปิดมา 1ใบ เจาะรูข้างกล่อง 1 รู แล้วนำของมาใส่ในกล่อง เช่น ตุ๊กตาและปิดฝากล่อง จากนั้นก็มองเข้าไปดูในรูที่เจาะไว้(จะมือสนิทมองไม่เห็นอะไร) ค่อยๆเปิดฝากล่องออกมองดูของที่อยู่ในกล่องผ่านรูที่เจาะ(จะมองเห็นของที่อยู่ในกล่อง)เจาะรูเพิ่มอีก 1 รูและนำไฟฉายส่องผ่านรูที่เจาะและมองอีกรูที่เหลือเราจะมองเห็นสิ่งของ
*แสงเดินทางเป็นเส้นตรง วัตถุของแสงบนโลกนีมี 3 แบบ
1. วัตถุแบบโปร่งใส แสงจะทะลุผ่านไปได้ แต่บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ด้านหลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ่า และพลาสติกขุ่นๆ เป็นต้น
2. วัตถุโปร่งใส จะเป็นวัตุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมดทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส และพลาสติกใส
3. วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงที่เหลือไว้และจะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เช่น หิน ไม้ เหล็ก
- เครื่องฉายภาพนิ่งเรียกสั้นๆๆกล้องรูเข็ม การส่องไฟจากภาพต้นแสงโดยมองผ่านรูที่เจาะไวจะเห็นภาพตามที่เราตั้งไว้
ภาพที่กลับหัวเหมือภาพต้นแบบก็เพราะแสงเดินทางผ่านเส้นตรงที่เป็นรูเล็กๆอย่างรูกระป๋อง 
- ดวงตาของเราก็มีรูเล็กๆเราเรียกว่ารูรับแสง ภาพที่ผ่านรูรับแสงในตาเราก็จะเป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน หลักการนี้เขาจึงนำมาทำกล้องถ่ายรูป สิ่งที่มนุษย์เราเห็นภาพเป็นปกติก็เพราะสมองของเราจะกลับภาพโดยอัตโนมัติ
*การสะท้อนของแสง

 - การทดลอง วางกระเงาไว้บนพื้นและส่องไฟฉายไปที่กระจกเงาเราก็จะเห็นแสงสะท้อนกลับมาตรงๆ จากนั้นเราก็ลองเปลี่ยนการทิศทางใหม่โดยเฉียงๆก็จะเห็นเฉียง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะมุ่งไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางแสงที่ส่องมาตลอด 
  - แสงจะสะท้อนกลับไปทิศทางตรงกันข้ามกลับทิศทางที่ฉายแสงลงมาเสมอแล้วที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่าและคู่กันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ
  - หลักของการสะท้อนแสงเราสามารถนำมาประยุกต์เป็นของเล่นได้ตัวอย่างเช่น เราลองใช่กระจกเงาสะท้อนภาพของตุ๊กตาจะเห็นว่ามีเงาเกิดขึ้นแค่1ภาพจากนั้นเราก็นำกระจกเงาอีก1บานมาวางทำมุม 90องศา กลับกระจกเงาบานแรกแล้วนำตุ๊กตาตัวเดิมมาว่างไวลอยต่อของกระจกจะเห็นว่ามีภาพตุ๊กตาเกิดขึ้นอีกเยอะแยะ ต่อไปถ้าเราจะบีบกระจกให้แคบเงาที่สะท้อนก็จะเพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้ามุมมีองศาแคบเท่าไรภาพในกระจกก็จะมากขึ้นเท่านั้น นั้นก็เป็นเพราะกระจกทางสองบานสะท้อนไปมา
  - กล้องคาไลโดสโคป(Kaleidoscope) นำกระจกเงา3บานมาประกบกันให้เป็นกระบอกทรง3เหลี่ยม และก็นำมาส่องกับภาพจะเห็นภาพสะท้อมากมาย เขาใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจกเมื่อแสงตกกระทบในทรงสามเหลี่ยมมันก็จะสะท้อนไปสะท้อนมาในนั้นจึงทำให้เกิดภาพ
  - กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตาหรือกล้องเพอริสโคป( Periscope ) ใช้หลักการสะท้อนของแสงคือแสงกับวัตถุจะผ่านเข้ามาทางช่องบนที่เราเจาะเอาไว้มากระทบบนกระจกเงาแผ่นบนแล้วก็สะท้อนมายังกระจกเงาแผ่นล่างและสะท้อนเข้าสู้สายตาของเราทำให้มองเห็นของที่อยู่สูงกว่าเรามากๆได้ขึ้นอยู่กับลำกล้องว่ายาวมากแค่ไหน
* หลักการหักเหของแสง แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ลองให้แสงส่องผ่านแท่นแก้วลิสซึมสามเหลี่ยมจะเห็นแสงที่ผ่านแท่นเเก้วหักงอ และถ้าเราลองฉายแสงผ่านตู้กระจก เริ่มแรกลองฉายแสงผ่านไปตรงๆก็จะเห็นแสงพุ้งตรง และถ้าเราฉายแสงแบบเฉียงๆเราก็จะเห็นแสงหักงอ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนล่ะชนิดกัน
-  การเผ่ากระดาษด้วยแสง ใช้เลนส์นูนรวมแสงให้ไปตกที่กระดาษรับแสง จะเห็นได้ว่าแสงรวมเป็นจุดเดียว และถ้าเราปล่อยให้แสงรวมกันอย่างนี้ จะเห็นว่ามีไฟคิดขึ้นที่ฉากรับแสง เหตุที่เกิดเพราะความร้อนของพระอาทิตย์มีความร้อนและถ้ามารวมตัวกันก็ยิ่งเพิ่มความร้อนให้สูงขึ้น
- การหักเหของแสงจะทำให้เราเห็นวิวและแสงสวยๆ ในตอนหลังฝนตกเราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดจากการหักเหของแสง
แสงที่เราเห็นจะประกอบไปด้วย7สี คือ ม่วง น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง แสด แดง แม่สีทั้ง7เมื่อรวมกันแล้วก็จะกลายเป็นสีขาวแต่หลังฝนตกใหม่ๆจะมีละอองน้ำในอากาศ เมื่อแสงผ่านละอองน้ำก็จะเกิดความหักเหของแสง และแสงจะแยกตัวจากสีขาวเป็น7สี ที่เราเรียกว่า "แทบสเป็กกราฟ"หรือ "รุ้งกินน้ำ"
*เงา ( Shadows )
เป็นสิ่งที่คู่กับแสงเสมอ เงาของวัตถุจะเกิดขึ้นจากแสงที่เดินเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆเมื่อมีวัตถุมาขว้างทางเดินของแสงไว้พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะถูกกลื้นและเกิดการสะท้อนแสงออกมาแต่พื้นที่ด้านหลังวัตถุแสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนของแสงเกิดขึ้นจึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำที่เราเรียกว่า "เงา"

การนำไปประยุกต์ใช้
   - การสอนเด็กๆเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวที่จะเกิดขึ้น และมีอยู่ใกล้ตัวเด็กเอง
   - เรื่องของแสงเป็นสิ่งที่อยู่บนโลกเราและใกล้ตัวเรามากที่สุด การเกิดแสงนั้นสามารถนำเนื้อหาบางส่วนมาประดิษฐ์สื่อได้
ประเมินตนเอง
    - ได้ความรู้เพิ่มจาการชมVideo เรื่อง ความลับของแสง เพราะเนื้อหาบางส่วนเราก็ยังไม่รู้จักเกี่ยวกับเรื่องแสง แสงมัทั้งโทษและประโยชน์
ประเมินอาจารย์
   - อาจารย์นำความรู้มาเพิ่มเติมให้เราจากการ ฟังเพลง ดูวิดีโอ อ่านบทความ การนำความรู้หลายๆทางมารวมกันเพื่อให้เรามีความรู้ให้มากๆ รู้เยอะดีกว่าไม่รู้อะไรเลย

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

วิธีการสอน
- การใชัคำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนรวมแบบระดมความคิด
- การนำเสนอบทความของเพื่อนพูดวัตถุประสงค์ใช้ในแบบวิเคราะห์การคิดพื้นฐาน
บทความวันนี้
  1.สนุกคิดกับของเล่นเด็กปฐมวัย  
ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน Darawan Glomjai
  2.วิทย์คณิตสำหรับเด็กสำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
การศึกษาปฐมวัย คือ การวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิด และการเรียนรู้ตลอดชีวิต สสวท. ได้มีการสร้างกรอบมาตรฐาน และคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยนำเสนอตัวอย่างการบูรณาการกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และยังได้มีการจัดอบรมครู และวิทยากรแกนนำ เพื่อนำไปขยายผล ทั้งนี้ มีโรงเรียนทั่วประเทศจำนวนกว่าหนึ่งหมื่นแห่งและครูปฐมวัย jirawan Jannongwa
 3.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทยาศาตร์ จากเสียงดนตรีเพื่อบูรณาการวิทยาศาสตร์
เมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล พ่อ-แม่ คาดหวังอะไร พ่อ-แม่ หลายคนอาจต้องกลับไปถามตัวเองใหม่ ปัจจุบันการเรียนรู้ระดับปฐมวัยสิ่งที่สำคัญคือ การสร้าง เจตคติที่ดี ในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ Umaporn Porkkati
 4.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  Patintida chlamboon
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผนมีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    1.การเปลี่ยนแปลง
    2.ความแตกต่าง
    3.การปรับตัว
    4.การพึ่งพาอาศัย
    5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
    1.ขั้นกำหนดปัญหา
    2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
    3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
    4.ขั้นลงมือข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์(Scientific Attitude) 
เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
  1. กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
  2. การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
  1. กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
  2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
  3. การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า
คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
     1. มีเหตุผล
     2. มีความอยากรู้อยากเห็น
     3. มีใจกว้าง
     4. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
     5. มีความเพียรพยายาม
     6. มีความละเอียดรอบคอบ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product) ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process) ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่า เป็นความรู้ ทาง วิทยาศาสตร์ จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่า ถูกต้องจากการ ทดสอบหลายๆ ครั้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท
   1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่สังเกตได้โดยตรง และจะต้องมีความเป็นจริง สามารถ ทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง
   2. ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง มาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่
   3. ความจริงหลักหรือหลักการ คือ กลุ่มของความคิด รวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถ นำมาทดลองซ้ำ ได้ผลเหมือนเดิม
   4. กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่ง แต่เป็นข้อความที่เน้นความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุผล มักแทนความสัมพันธ์ ในรูปสมการ
   5. สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่จะ ดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เป็นจริงในเรื่อง นั้นๆ

   6. ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ 
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองความต้องการ
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้างประสบการณ์
- ฯลฯ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ
 เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต

การนำไปประยุกต์ใช้
    การรู้ถึงความหมายของวิทยาศาสตร์ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้และการศึกษาต่อไปในอนาคตให้เกิดประโยชน์อย่างสูงยิ่ง
ประเมินตนเอง
    เข้าใจถึงความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่ที่เราจะเลือกอะไรมาประยุกต์ใช้ในการให้ได้อย่างเหมาะสม
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจเรียนและมีควาามสุขกับการเรียนในรายวิชานี้เพราะอาจารย์จะภามอยูเสมอ
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ต้องการให้พวกเรามีส่วนรวมกับการเรียนจึงใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของพวกเราและก่อนจะหมดคาบอาจารย์จะสรุปเนื้อหาให้เราได้เข้าใจ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

วิธีการสอนในวันนี้
- อธิบายคุณลักษณะตามวัย
- อธิบายธรรมชาตของเด็ก
- บอกถึงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
- ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนเสมอ

เริ่มก่อนเข้าเนื้อหาการเรียน  (อ่านบทความ)
1. เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง  โดย  Miss Kamonwan Nakwichen
2. เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้ โดย Miss Sirada Sakbud 
3. เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ โดย Miss Siripron Pudlom
4. เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดย   Miss Siriwan Krudnaim
5. เรื่องการเป่าลูกโป่ง โดย  Miss Kwanruthai Yaisuk
 *สามารถติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมจากบล็อกเพื่อนๆเลยนะค่ะ
- อาจารย์อธิบายคุณลักษณะตามวัย3-5ปี
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย3-5ปี
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น(5-10นาที)
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบที่จะทำใก้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
- ช่วยตนเองได้
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- พูดประโยคยาวสั้น
นักการศึกษา/หลักการแนวคิด
1. Piaget ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 
2. John Dewey เป็นผู้นำนักปราชญ์ผู้นี้มีความเชื่อว่าความอยู่รอดของสรรพสัตว์ (ซึ่งหมายถึงมนุษย์ด้วยนั้น) ย่อมขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสิ่งนั้นๆ ความเชื่อนี้ได้มาจากชาร์ลส์ ดาวิน (Charles Darwin) เจ้าของทฤษฏีวิวัฒนาการซึ่งให้หลักไว้ว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่รอด (The Survival of the Fittest) ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะสม ย่อมจะล้มหายตายจากไป จากความเป็นจริงข้อนี้ จอห์น ดิวอี้ จึงได้ยึดเอาเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นสรณะสำคัญ หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา จากแนวคิดเรื่องการปรับตัวนี้เอง จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) จึงเห็นค่ามนุษย์ย่อมมีปัญหาอยู่ตลอด ปัญหานั้นก็คือ การเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เป็นอยู่ทุกขณะนั่นเอง เมื่อมนุษย์ต้องพบปัญหาอยู่ตลอด การฝึกมนุษย์ให้แก้ปัญหาได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้ขจัดปัญหาที่มาขัดขวางการดำเนินชีวิตได้ และชีวิตนั้นก็จะอยู่รอดตลอดไป 
3.Skinner กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
4.Pestalzzi เชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม 
เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ มีแนวคิดจาก
รุสโซตรงที่มุ่งเน้นการสอนเด็กเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนเด็กเป็นรายบุคคล  นอกจากนั้น เปสตาลอซซี่ยังเป็นต้นความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควร ถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาแล้วประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตนเอง เปสตาลอสซี่ได้เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และลูก เช่น “เกอร์ทรูดสอนลูกอย่างไร” (How Gertrude Teaches Her Children) และ “หนังสือสำหรับแม่” (Books for Mothers) และได้ออกแบบหลักสูตรชื่อ“ปาปา”(Papa) สำหรับลูกของตน ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
5.Froeble กล่าวว่าสิทธิของเด็กเล็ก คือ ความเป็นอิสระในการแสดงออกตามธรรมชาติ ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ออกคำสั่ง เฟรอเบลเป็นคนแรกที่กล่าวว่าการเล่นและเกมส์ต่าง ๆ เป็นเสมือนการเรียนจากประสบการณ์ หลักการของเฟรอเบล เด็กจะได้รู้จักความจริง ความยุติธรรม ความรับผิดชอบและความรู้จักคิดทำอะไรได้ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มิใช่ทำทุกอย่างตามที่ครูบอก ทำให้เด็กสามารถค้นหาเอกัตภาพของตนเองได้  
6.Gesell อธิบายถึงพัฒนาการทางกายที่มีรูปแบบที่แน่นอนและเป็นไปตามลำดับขั้น สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยส่งเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก กีเซลเน้นถึงการเติบโตและลักษณะของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้แบบแผนและขั้นตอนพัฒนาการจะเหมือนกัน พัฒนาการของเด็กเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ดังนั้นการพัฒนาเด็กจึงต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันทุกด้าน ทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายของกีเซลมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน



การนำไปประยุกต์ใช้
      การปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการเรียนรู้ เหมือนกับเวลาที่เราสงสัยย่อมมีคำถามเสมอเพื่อการเข้าใจก็ไม่ต่างอะไรกับที่อาจารย์ถามเราเพื่อปลูกฝังนิสัยคิดไวและมีเหตุผล
ประเมินตนเอง
     เข้าใจบทเรียนวันนี้เพราะอาจารย์ถามอยู่เสมอ และารเรียนรู้ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการศึกษปฐมวียรวมถึงวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย บางท่านเราอาจจะยังไม่รู้จักดี
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน แต่ที่เป็นปัญหาคือบางคนยังไม่เริ่มอัพบล็อก
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใช้วิธีการสอนโดยใช้คำถามเพื่อเปิดโอกาสให้เราได้ คิดและเป็นการกระตุ้นการเรียนของพวกเราอยุ่เสมอเพื่อให้เราเกิดทักษะด้านสติปัญญา

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 26 สิงหาคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน  12.20

เด็กปฐมวัยvsการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?
    ไม่จริง ส่วนใหญ่เด็กจะอยากรู้อยากเห็นอยากลองตามพัฒนาการของเด็กตามลำดับขั้น วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่เด็ก
     ชื่นชอบเป็นสิ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆๆตัวเด็ก
- ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?
    ไม่ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กก็มีและเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสติปัญญาได้ด้วยดีเด็กได้ใช้การคิดได้ใช้ภาษา
- การจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
     คือการเลือกสิ่งที่เขาสนใจหรือแค่สิ่งที่ขาสงสัยก็เป็นวิทยาศาสตร์ได้แล้วสิ่งแวดล้อมรอบตัวล้วนแต่เป็นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

        วิทยาศาสตร์
- คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
- ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิดซึ่งจะสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตุและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
- การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตุและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะสงเสริมให้เด็กได้คิดประเมินการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขั้นในวัยที่สูงขึ้น

      ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
- ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
- ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและความคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

ความรู้ที่ได้รับ
 คือการเข้าใจธรรมชาติของเด็กโดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาสนใจ 
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะสงเสริมต่อทักษะและความคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กได้อย่าง
เหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

 

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 19 สิงหาคม  พ.ศ.2557

ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาเลิกเรียน  12.20


        อาจารย์อธิบายแนวการสอน ( courese  syllabus) สำหรับรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาคเรียนนี้บอกข้อตกลงในห้องเรียน

- ตรงต่อเวลา

- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

- แต่งกายให้เรียบร้อย

ผลลัพธ์การเรียนรู้

 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

    - มีความซื้อสัตย์ สุจริต และเสียสละ

    - มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

    - เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 2. ด้านความรู้

    - อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้

    - ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

    - อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

    - วิเคราะห์ และเลือกสื่อ อุปกรณ์ ได้อย่างเหมาะสม

 3. ด้านทักษะทางปัญญา

    - คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ

    - ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผน การจัดประสบการณ์

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์

    - ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้

เพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

 4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

    - ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

    - ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหา

    - รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม

    - แสดงบทบาทผู้นำ และร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม

 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

    - มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า

    - สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน

    - สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

 6. ด้านการจัดการเรียนรู้

    - วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

    - เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง


* ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เราจะได้รับจากรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและจะช่วยพัฒนาตัวเราได้ในหลายๆด้านทั้งปัจจุบันและอนาคตเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันคือการดำเนินชีวิตในเรื่องระเบียบวินัยและด้านความรู้ทางปัญญา